ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่งในระบบเครือข่าย โปรแกรมด้านผู้ส่ง (sender) จะต้องนำข้อมูลที่ถูกส่งไปนั้น มาตัดออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วบรรจุลงใน packet แต่ละ packet จะมีส่วนประกอบสองส่วน ส่วนแรกคือ header เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ address และ port ของผู้รับและผู้ส่ง รวมทั้งข้อมูลเท่าที่จำเป็นในการนำ packet มาประกอบกันเป็นข้อมูลเดิม อีกส่วนเรียกว่า payload คือข้อมูลย่อยที่จะถูกส่งไปนั้นเอง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องสร้างโปรแกรมทั้งด้านผู้ส่งและผู้รับ ที่ด้านผู้ส่งต้องทราบวิธีการสร้าง packet และส่ง packet ผ่านชั้นของโปรแกรมลงไปสู่ชั้นของตัวกลางเพื่อเดินทางไปในระบบเครือข่าย ที่ด้านผู้รับต้องทราบวิธีรับ packet จากระบบเครือข่าย ขึ้นมาประกอบเป็นลำดับที่ถูกต้อง แล้วจึงดึงข้อมูลออกมา จะเห็นว่าการเขียนโปรแกรมรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายเป็นเรื่องยุ่งยากมาก และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างโปรแกรมแบบนี้
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554
InetAddress
ใน java.net package มีคลาส InetAddress สำหรับเก็บแสดง IP address ซึ่่งใช้ได้กับทั้ง TCP และ UDP protocols โดยปกติใน instance ของคลาส InetAddress จะมีข้อมูลเกี่ยวกับ IP address และอาจจะมี domain name ของ IP address นั้นด้วยก็ได้ ขึ้นกับว่า instance นั้นถูกสร้างขึ้นโดยมี domain name กำหนดให้หรือไม่ การที่ Java ใช้ InetAddress แทน IP address ในการอ้างอิงถึงเครื่องๆหนึ่ง ก็เพื่อให้โปรแกรมไม่ขึ้นกับ IP address ให้สามารถรองรับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นคลาส InetAddress จะถูกเปลี่ยนแปลงให้สนับสนุนมาตรฐานใหม่นั้น โดยที่โปรแกรมของเราไม่ต้องถูกเปลี่ยนแปลง
ในคลาส InetAddress นั้นไม่มี public constructor แต่มี public static factory methods สำหรับสร้าง instance ของคลาส เช่น
ในคลาส InetAddress นั้นไม่มี public constructor แต่มี public static factory methods สำหรับสร้าง instance ของคลาส เช่น
public static InetAddress getLocalHost() throws UnkhowHostException;ซึ่งจะให้ InetAddress ของเครื่องที่ทำงาน หลังจากนั้นอาจจะใช้
public String getHostName();
public String getHostAddress();
Tomcat Http Server and Servlet Container
ปกติแล้ว servlet จะต้องทำงานอยู่ภายใต้ servlet container แต่เวลาเราจะเรียกใช้งาน มักจะเรียนผ่าน http server ดังนั้น servlet container จึงต้องทำงานร่วมกับ http servers โดยที่ http server จะรับ requests มาจาก client ก่อน หากตรวจสอบแล้วเป็นการ request ไปที่ servlet แล้ว server ก็จะส่ง request ต่อไปที่ servlet containner ที่ทำงาน servlet นั้นๆ
โดยทั่วไป servlet containers แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามความสัมพันธ์กับ http server คือ
1. Standalone Servlet Container เป็น Servlet Container ที่ติดมากับ http server นั้นเลย
2. Add-on Servlet Container เป็นโปรแกรม Servlet Container ที่เราสามารถ plug-in กับ http server ที่ไม่มี servlet container โดยตรง เช่น Tomcat servlet container
ตอนที่ servlets ถูกพัฒนาขึ้นเป็นรุ่น 1.0 นั้น http server ส่วนใหญ่ยังไม่มี servlet container จึงยังไม่สามารถทำงาน servlet ได้ ดังนั้น Sun microsystem จึงต้องสร้าง Java Web Server ออกมาเป็นแม่แบบของ http server ที่มี servlet container แบบ standalone ให้นักพัฒนาโปรแกรมใช้สร้างและทดสอบ servlet รวมท้้งเป็น http server ที่ใช้งานได้จริงด้วย และต่อมาได้พัฒนาโดยโครงการ Jakarta-Tomcat ได้พัฒนา Tomcat ซึ่งเป็น servlet container แม่แบบสำหรับ servlet รุ่น 2.0
โดยทั่วไป servlet containers แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามความสัมพันธ์กับ http server คือ
1. Standalone Servlet Container เป็น Servlet Container ที่ติดมากับ http server นั้นเลย
2. Add-on Servlet Container เป็นโปรแกรม Servlet Container ที่เราสามารถ plug-in กับ http server ที่ไม่มี servlet container โดยตรง เช่น Tomcat servlet container
ตอนที่ servlets ถูกพัฒนาขึ้นเป็นรุ่น 1.0 นั้น http server ส่วนใหญ่ยังไม่มี servlet container จึงยังไม่สามารถทำงาน servlet ได้ ดังนั้น Sun microsystem จึงต้องสร้าง Java Web Server ออกมาเป็นแม่แบบของ http server ที่มี servlet container แบบ standalone ให้นักพัฒนาโปรแกรมใช้สร้างและทดสอบ servlet รวมท้้งเป็น http server ที่ใช้งานได้จริงด้วย และต่อมาได้พัฒนาโดยโครงการ Jakarta-Tomcat ได้พัฒนา Tomcat ซึ่งเป็น servlet container แม่แบบสำหรับ servlet รุ่น 2.0
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)