วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

The Lex & Yacc

compiler หรือ interpreter สำหรับภาษาโปรแกรม(programming language) นั้นโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ส่วนที่ใช้ในการอ่าน Source Program และตรวจสอบโครงสร้างหรือ Structure ของตัว Source Program
  2. เป็นส่วนที่ใช้จัดการกับ Structure ของ Source Program

สิ่งที่ Lex และ Yacc ทำคือ

  1. ตัดคำหรือแบ่ง Source file ออกเป็น token ย่อยๆ (Lex)
  2. ตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรม โดยวิเคราะจากโครงสร้างที่แตกย่อยออกมาของ program (Yacc)

Lex – A Lexical Analyzer Generator

Lex นี้จะช่วยตัดคำ(Token) ของ source program จากการกำหนดโดย regular expressions ที่ได้รับมาจาก input stream แล้วส่งไปให้ parser ทำงานต่อ โดย source ของ Lex นี้ก็คือตาราง regular expressions และ คำหรือ Token ต่างๆที่ถูกกำหนดเอาไว้ในภาษาโปรแกรมที่ออกแบบไว้ โดยตารางนี้จะถูก translated เป็น program ที่จะใช้ในการอ่านข้อมูลจาก input stream โดยจะตัดคำ(Token) ที่ตรงกับ expressions ที่ได้กำหนดเอาไว้ โดย expression นี้จะถูกกำหนดโดย DFA หรือ deterministic finite automaton generated โดย Lex

 Yacc: Yet Another Compiler-Compiler

Yacc คือ tool ที่ใช้สำหรับอธิบายข้อมูลอินพุทให้กับ computer program ซึ่งผู้ที่ใช้ Yacc นี้จะกำหนดโครงสร้าง(Structure) ของข้อมูล input รวมไว้กับ code ที่จะถูกเรียกเอาไว้สำหรับในแต่ละ structure ที่ตรงกันสำหรับจัดการกับข้อมูลอินพุท โดยจะแบ่งออกเป็น subroutine ย่อยๆเอาไว้

 

เนื่องจาก lex กับ yacc มันเก่าแล้ว ก็เลยมีคนพัฒนา tool ตัวใหม่ๆออกมาหลายตัวดัวยกัน แต่สำหรับเอง ผมใช้

  • flex อันนี้ใช้สำหรับ lex
  • bison อันนี้ใช้สำหรับ yacc

*flex = lex,bison = yacc

ซึ่ง tool สองอันนี้เป็น OpenSource จึงสามารถนำมา compile และติดตั้งบน Linux ได้โดยไม่มีปัญหา

Flex,A fast scanner generator

Flex เป็น tool สำหรับสร้าง scanner (scanner generator) โดยprogramที่จะได้รับการยอมรับนั้นจะต้องตรงตาม lexical patterns โดยการทำงานของ flex นี้จะเริ่มจากการอ่านข้อมูล input จาก file เข้ามาหรือผ่านทาง stardard input ถ้าไม่มีการส่ง file name ให้กับ flex เพื่อใช้การอธิบายข้อกำหนดต่างๆ ก่อนที่จะทำการ generate scanner code ออกมา ดังนั้นก่อนที่จะใช้เจ้า flex นี้ได้ เราจะต้องมีการกำหนด regular expressions และชุดคำสั่งภาษา C ซึ่งเราจะเรียกว่า “RULES “ หลังจากที่กำหนด rules ต่างๆเรียบร้อยแล้วจึงใช้ flex นี้เป็น code generator ที่เราจะใช้เป็น scanner สำหรับตัดคำนั้นเอง โดย flex นี้จะ gen. ไฟล์ออกเป็นเป็นไฟล์ภาษา C ที่ชื่อว่า “lex.yy.c” ซึ่งใน file นี้จะมี routine ‘yylex()’ อยู่ภายใน จากนั้นก็เอาไฟล์ที่ได้มานี้ไปทำการ compile กับ c compiler ได้ออกมาเป็น executable ไฟล์สำหรับใช้งานอีกทีนึง

Bison, The Yacc-Compatible Parser Generator

Bison คือ parser generator ที่แปลงส่วนอธิบาย grammar ของ LALR context-free grammar (LALR parser generator เป็น software tool ที่ใช้ในการอ่าน BNF Grammar เข้ามาแล้ว generate code ให้เป็น LALR parser) ออกมาเป็น C program ที่ใช้ในการวิเคราะห์ไวยากรณ์

*Bison นี้ถูกพัฒนามาจาก Yacc ซึ่งการเขียน Yacc Grammar นี้จะสามารถนำไปใช้ได้กับ Bison ได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งทำให้ผู้ที่มีความคุ้นเคยกับ Yacc นั้นสามารถเปลี่ยนมาใช้ Bison ได้โดยง่าย

วันนี้ง่วงนอนแระ เอาไว้รอบหน้าผมจะเอา Flex/Bison มาอธิบายให้ฟังกันอย่างละเอียดกันไปเลยทีเดียวละกันนะคับ อิอิ

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีกำหนด JFrame ให้อยู่กลางจอ

ถ้าเราจะจัดให้ JFrame ของเราอยู่กลางหน้าได้โดยเรียกใช้ Function getToolkit().getScreenSize() เราจะได้ขนาดของหน้าจอกลับมาในรูปของ Dimention Object (ไอ้เจ้าฟังก์ชั่น getToolkit() ของ JFrame นี้มัน inherit มาจาก Window) ลองมาดูตัวอย่างกันคับ

Dimension d = getToolkit().getScreenSize();

int screenWidth = d.width;

int screenHeight = d.height;

หลังจากนั้นเราก็มาหาตำแหน่งกึ่งกลางของจอโดยเอาค่าความกว้างกับความยาวมาหารด้วย2

int centerX = screenWidth/2;

int centerY = screenHeight/2;

แล้วก็มาหาตำแหน่งที่เราจะวาง JFrame เพื่อให้ frame นั้นอยู่กลางหน้าจอ เนื่องจากว่าเวลาเรากำหนดตำแหน่งของ frame ตำแหน่งที่เรากำหนดจะเป็นตำแหน่งของมุมซ้ายด้านบนของ frame มันเลยไม่อยู่ตรงกลางให้เรา (55+) ดังนั้นถ้าเราจะกำหนดตำแหน่งกึ่งกลางจอให้กับ JFrame ตรงๆนั้น frame ก็จะไม่ได้อยู่ตรงกลางเราจึงต้องคำนวนหาตำแหน่งของมันซะก่อน โดยลบค่าของ centerX และ centerY ด้วยขนาดครึ่งนึงของ frame ตามลำดับดังนี้

int xPos = centerX – frame.getWidth() / 2;

int yPos = centerY – frame.getHeight() / 2;

*สมมติให้ frame เป็น reference ของ JFrame

และแล้วเราก็จะได้ตำแหน่งที่จะต้องกำหนดให้กับ JFrame แว้ววว… ก็มาsetค่าตำแหน่งให้กับมันเลยคับ

frame.setLocation(xPos,yPos);

ก็เป็นอันว่า frame ของเราก็จะอยู่ตรงกลางเป็นที่เรียบร้อยละค๊าบบ.. มาดูตัวอย่างกันดีกว่า อิอิ

import javax.swing.*;

import java.awt.*;

public class TestJFrame extends JFrame {

  public static void main(String[] agrs) {

    JFrame f = new JFrame(“Centering JFrame”);

    f.setSize(200,200);

    Dimension d = f.getToolkit().getScreenSize();

    int screenWidth = d.width;

    int screenHeight = d.height;

    int centerX = screenWidth / 2;

    int centerY = screenHeight / 2;

    int xPos = centerX – f.getWidth() / 2;

    int yPos = centerY – f.getHeight() / 2;

    f.setLocation(xPos,yPos);

    f.setVisible(true);

  }

}